ปัญหาเหงือกร่น

ปัญหาเหงือกร่น แก้ไขได้ ให้กลับมายิ้มง่ายได้อีกครั้ง

ปัญหาเหงือกร่น เป็นปัญหาที่พบได้ๆ ทั่วไป แต่คนไข้มักจะไม่รู้ตัว อาการเหงือกร่น คือ ลักษณะอาการที่มีการถดถอยของระดับเหงือกลงมา ซึ่งปกติเหงือกควรจะอยู่ระหว่างรอยต่อของรากฟันและตัวฟัน ทำให้ตัวฟันดูยาวขึ้น หรือคนไข้จะรู้สึกตัวได้จากอาการเสียวฟันที่อาจจะเกิดขึ้นมาเอง หรือเมื่อทานอาหาร

สาเหตุของเหงือกร่น

  1. เกิดจากคราบฟัน ทำให้เกิดการระคายเคือง และให้เหงือกร่นลงมาได้
  2. โรคปริทันต์อักเสบ หรือโรคเหงือก ซึ่งอาจทำให้เกิดการละลายตัวของกระดูก และเหงือก
  3. การเรียงตัวที่ผิดปกติของฟัน ซึ่งฟันอาจเรียงตัวออกจากเบ้ากระดูก มีเหงือกหรือกระดูกที่บางกว่าปกติ
  4. การสบฟันที่ผิดปกติ แรงกระแทกจากการกัดเคี้ยว สามารถทำให้ตัวฟันสึก ทำให้เชื้อโรคสะสมส่งผลทำให้เหงือกมีการลดระดับลงมา
  5. การแปรงฟันที่ผิดวิธี การแปรงย้ำๆ ทุกวัน เป็นการทำให้เหงือกฉีกขาด และร่นลงไป
  6. หลังการบูรณะฟัน เช่น การอุดฟัน การทำครอบฟัน ถ้าขอบของวัสดุบูรณะฟันลงไปใต้เหงือกก็เป็นสาเหตุของเหงือกร่น
  7. การจัดฟัน ทันตแพทย์จะทำการจัดฟันให้อยู่ในแนวที่เหมาะสม ซึ่งบางครั้งอาจไปเรียงตัวในแนวกระดูกด้านหน้าที่มีการบางกว่าปกติ
  8. ปัจจัยทางกายภาพ อาจจะเป็นเพราะเหงือกบางกว่าปกติ หรือการที่มีอวัยวะข้างเคียงดึงรั้งให้เหงือกร่นลงไป

อาการเหงือกร่นที่ต้องทำการรักษา

  • คนไข้รู้สึกว่าเป็นปัญหาเรื่องความสวยงาม ฟันดูยาว
  • อาการเสียวฟัน จากการดื่มของเย็น ทานอาหาร หรือเกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง
  • คนไข้มีแผนการรักษาทันตกรรมด้านอื่น ๆ เช่น การจัดฟัน, การใส่ฟันปลอม หรือรากฟันเทียมแล้วเหงือกรอบ ๆ บริเวณไม่เหมาะสมก็อาจจะต้องทำการปลูกเหงือก ข้อจำกัดของการรักษาเหงือกร่น
  • ลักษณะเหงือกของคนไข้
  • ลักษณะของรอยโรค หรือรอยที่เหงือกร่นเป็นอย่างไร
  • กระดูกรอบ ๆ ฟันละลายไปเท่าไหร่ คนไข้ควรเข้าตรวจและวางแผนการรักษาเป็นรายบุคคล

การวางแผนการรักษา

การปลูกถ่ายเหงือกเป็นการรักษาเหงือกร่นเฉพาะที่ การปลูกถ่ายเหงือกมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ที่ปลูกถ่าย หรือรอยโรคของแต่ละบุคคล

ชนิดของเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่าย

  • เนื้อเยื่อจากตัวคนไข้ ซึ่งนำมาจากเพดานปาก
  • เนื้อเยื่อจากการสังเคราะห์
  • เนื้อเยื่อจากสัตว์ จะมีการฆ่าเชื้อ สามารถนำมาใช้ในปากมนุษย์ได้ วิธีการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ
  • การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อทั้งชิ้น
  • การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อยึดต่อ
  • การเคลื่อนแผ่นเหงือกบริเวณซี่ข้างเคียงเข้ามาปิด

ข้อแนะนำจากทันตแพทย์

อาการเหงือกร่น มีหลากหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาการ และการรักษาค่อนข้างหลากหลายแตกต่างกันไป ทันตแพทย์แนะนำว่าถ้าหากคนไข้รู้สึกตัวว่าเหงือกร่น โดยเฉพาะเหงือกร่นเฉพาะที่ แนะนำว่าให้เข้ามาปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

ที่มา: https://www.ddbmh.com/%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%87%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b9%88%e0%b8%99-%e0%b9%81%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b9%84%e0%b8%82%e0%b9%84%e0%b8%94%e0%b9%89/