การทำรากฟันเทียม

การทำรากฟันเทียม (Dental Implants)

การทำรากฟันเทียมถือได้ว่าเป็นการใส่ฟันเพื่อทดแทนการสูญเสียฟันที่ใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุด อีกทั้งช่วยชะลอหรือลดการเสื่อมสลายของกระดูกรองรับรากฟันได้
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางทันตกรรมมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้ลดความยุ่งยาก ขั้นตอนและระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาลงอย่างมาก

ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมในกรณีที่ฟันหายไป ซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในกรณีที่มีฟันหายไป 1-2 ซี่ รวมถึงรากฟันเทียมก็มีส่วนช่วยให้ฟันเทียมชนิดถอดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เรียกได้ว่ารากฟันเทียมมีส่วนช่วยในการทำฟันเทียมเกือบทุกกรณี

ส่วนประกอบของรากฟันเทียม

Implant Body or Fixture (ตัวรากฟัน หรือ ส่วนรากเทียมที่ฝังลงไปในกระดูก)

คือ ส่วนของรากเทียมที่มีลักษณะคล้ายสกรู หรือ น๊อต ที่ฝังจมลงไปในกระดูกขากรรไกร เพื่อให้มีการยึดติดกับกระดูกขากรรไกรทำหน้าที่เหมือนรากฟัน

Implant Abutment (แกนรองรับฟันปลอม)

คือ ส่วนยึดต่อระหว่าง Implant Body และส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ ที่ทำจากไททาเนียม หรือ เซรามิค ทำหน้าที่แทนส่วนของตัวฟัน

Crown (ตัวครอบฟัน หรือฟันปลอม)

เป็นส่วนทันตกรรมประดิษฐ์ (Prosthetic component) คือ ส่วนของฟันเทียม เช่น ครอบสะพานฟัน, ฟันเทียมถอดได้ที่ยึดกับ Implant Abutment ซึ่งจะใช้กาวทางทันตกรรมยึดหรือสกรู

 

ข้อควรพิจารณาในคนไข้ที่ต้องการฝังรากฟันเทียม

คนส่วนใหญ่สามารถใส่รากฟันเทียมได้ แต่ในบางกรณีอาจมีกระดูกในขากรรไกรไม่เพียงพอ อาจจะต้องปลูกถ่ายกระดูกหรือผ่าตัดยกโพรงอากาศขึ้นซึ่งจะเป็นไปตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ในผู้ที่มีภาวะโรคประจำตัวบางประเภท หรือรับประทานยาที่จำกัดทางเลือก ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีภาวะเสี่ยงสูงที่ผลการรักษาอาจล้มเหลวได้
อย่างไรก็ดี การฝังรากฟันเทียมขึ้นอยู่กับสภาพเหงือกและปริมาณกระดูกในคนไข้แต่ละคน
ดังนั้น ก่อนเข้ารับการรรักษาคนไข้สามารถเข้ามาปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ที่มา: https://www.ddbmh.com/dental-implant/